วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

"เทคโนโลยี Cloud Computing"

Cloud Computing 

คือ วิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับ ความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลาโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ
สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน
Anywhere! Anytime! ไม่ว่าคุณจะอยู่ตรงไหนก็ตาม ขอแค่มีอินเตอร์เน็ตกับคอมพิวเตอร์สักตัว คุณก็ทำงานได้ตลอดเวลา ตามที่คุณต้องการแล้ว
cloud coputing technology
การทำงานคร่าวๆของ Cloud Computing แบ่งออกได้ 2 ฝั่ง คือ Client กับ Server โดยการทำงานที่ฝั่ง Client ไม่มีอุปกรณ์อะไรยุ่งยาก นอกจากคอมพิวเตอร์เครื่องเล็กๆเพียงเครื่องเดียว ใช้ Internet Browser สักตัวมาเปิดแล้วก็ทำงานได้เลย ทำให้คุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรมากมายให้นักเครื่องอีกต่อไป ซึ่งต่างกับฝั่ง Server ซึ่งจะมีคุณสมบัติต่างๆมากมายเต็มไปหมด ในปัจจุบันอาจจะดูได้จากการทำงานร่วมกันของระบบ Google Chrome ไม่ว่าจะเป็น Google Doc, Google Calendar เป็นต้น
เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Cloud Computing มีอะไรบ้าง
  • Agility ผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนทุกอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว
  • Cost ช่วยลดค่าใช้จ่ายในองค์กร
  • Device and location independence ทุกที่ทุกเวลา ขอแค่คอมพิวเตอร์ กับ Internet Connection
  • Multi-tenancy สามารถแบ่างทรัพยากรไปให้ผู้ใช้จำนวนมาก
  • Reliability ความน่าเชื่อถือ มีความพร้อมสำหรับการรับมือกับภัยคุกคามข้อมูลต่างๆมากแค่ไหน
  • Scalability พร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการ … ความต้องการของผู้ใช้ และเตรียมรองรับเทคโนโลยีหลายๆรูปแบบ
  • Security สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ และยิ่งใน Cloud Computing แล้วข้อมูลอรวมอยู่ที่เดียวกัน ก็ยิ่งต้องเพิ่มความปลอดภัยให่มากยิ่งขึ้น
  • Sustainability โครงสร้างที่แข็งแรงต้องอาศัยความแข็งจากทุกส่วนรวมกัน
อนาคตนะครับ Notebook ประสิทธิภาพสูงๆ คงไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะ Cloud Computing ทำหน้าที่แทนให้เกือบหมด ใช้แค่ Netbook เล็กๆก็เพียงพอ
Image
Cloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่ในปัจจุบันนี้กำลังได้รับการจับตามองอย่างมาก และกำลังอยุ่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นธุรกิจที่ขยายวงกว้างมากขึ้นโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ โดยในปัจจุบันนี้นั้นเทคโนโลยี Cloud Computing นั้น ได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยในเรื่องของโครงข่ายข้อมูลที่กำลังพัฒนาไป ได้อย่างรวดเร็ว โดยเจ้าเทคโนโลยีนี้สามารถเชื่อมต่อความเร็วสูงและรองรับข้อมูล มัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลสมัยๆอย่างอื่นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ Cloud Computing นั้นสร้างความสนใจกับบรรดาเหล่าบริษัทน้อยใหญ่ขึ้นมาเป็นอย่างมาก
Image
โดยองค์ประกอบของการใช้บริการจาก Cloud Computing นั้น เพียงผู้ใช้งานนั้นมีเพียงแค่อินเตอร์เนทก็สามารถใช้งานบริการนี้ได้แล้ว วึ่งในปัจจุบันนั้นมีผู้ที่ให้บริการต่างๆมากมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปจน ถึง ขนาดใหญ่ โดยมีรูปแบบออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานมากแบบแยกชิ้นมากยิ่่งขึ้น นั้นก็คือ ผู้ใช้งานนั้นสามารถเลือกใช้ประเภทการให้บริการและจำนวน application ต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งานจริง โดยจะเสียค่าใช้งานได้ตามปริมาณที่เราเลือกใช้งาน

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Digital Living Network Alliance หรือ DLNA คือเทคโนโลยี DLNA คืออะไร?

Digital Living Network Alliance หรือ DLNA คือเทคโนโลยี DLNA คืออะไร?
      คำว่า DLNA  ย่อมาจากคำว่า  Digital Living Network Alliance นั่นเองครับ โดยหลักการที่น่าจะพอมองเห็นภาพง่ายๆก็คือ การทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ใดๆที่สามารถเชื่อต่อกับอินเตอร์เน็ท และรองรับระบบ DLNA ได้นั้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ Notebook โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เครื่องเล่น บลูเรย์  หรือแม้แต่ AVRที่มีระบบ network ที่น้าๆใช้ดูหนังกันอยู่นี่ล่ะครับ โดยสามารถทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้ทั้งหมด หากต้องการจะดึงรูป เล่นเพลง หรือวีดีโอจากมือถือไปแสดงผลบนจอโทรทัศน์ ก็สามารถทำการแชร์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องต่อสายให้ยุ่งยาก
อุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก Digital Living Network Alliance หรือ DLNA จะอนุญาตให้ท่านทำการแบ่งปันคอนเทนท์ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบๆ บ้านของท่านผ่านทางเครือข่าย Wi-Fi® ของท่านในบ้าน. ตัวอย่างเช่น, ท่านสามารถที่จะเซ็ตอัพเครื่องคอมพิวเตอร์ VAIO® ของท่านเป็น DLNA server และเปิด เพลง, วิดีโอ และรูปถ่ายต่าง ๆ ที่บนเครื่องทีวีของท่าน . Sony® ได้ผลิตอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ออกมามากมายเช่น เครื่องเล่น Blu-ray™ Disc , เครื่องรับโทรทัศน์, เครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของ Sony , เครื่องแทปเล็ตและอื่น ๆ อีกมากมาย.
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกันได้กับ DLNA สามารถที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านได้เหมือนกันกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน. เมื่อทำการเชื่อมต่อได้แล้ว, ท่านสามารถจะเลือกดูโฟล์เดอร์ที่เลือกไว้ในเครื่องพีซีที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ ของมีเดียของท่าน จากบนหน้าจอทีวีได้เลย และเลือกเพลงเพื่อเปิดฟัง หรือดูรูปถ่าย และวิดีโอต่างๆ เพื่อเปิดดูได้.
แอพพลิเคชั่นสำหรับแบ่งปันไฟล์เช่น Windows Media® Player, ซอฟต์แวร์ VAIO® Media server , Serviio™ DLNA Media server, Twonky® suite หรือ EyeConnect UPnP™ AV Media Streaming Software จะทำการเชื่อมต่อให้ระหว่าง ทีวี และเครื่องคอมพิวเตอร์.
ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องการเพื่อที่จะดูรูปถ่าย วิดีโอ หรือรับฟังเพลง ในอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน DLNA :
  • เครือข่ายที่แอ็คทีฟ: อุปกรณ์นั้นจะต้องเชื่อมต่อเข้าไปโดยใช้การเชื่อมต่อแบบสายหรือไร้สายเข้า กับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือเข้ากับระบบเครือข่าย LAN(Local Area Network)ในบ้านของท่าน.
  • เซิร์ฟเวอร์ของมีเดียดิจิตอลที่ได้รับการรับรองโดย DLNA (DLNA Certified Digital Media Server): อุปกรณ์เหล่านี้จะเก็บบันทึกคอนเทนท์และจัดให้กับเครื่องเล่นสื่อดิจิตอล ระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์จัดเก็บที่เชื่อมต่อกับเครือ ข่าย(NAS).
  • เครื่องเล่นสื่อดิจิตอล ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA หรือเครื่องไคลเอนท์: อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถหารูปถ่ายและวิดีโอจากอุปกรณ์ที่ได้รับการรับรองจาก DLNA ตัวอื่นและทำการเล่นบนเครื่องทีวี, ระบบสเตริโอ, ระบบโฮมเธียร์เตอร์, เครื่องเล่น Blu-ray Disc™ และคอนโซลเกมส์ต่าง ๆ ของท่านได้.
หมายเหตุ: ตัวควบคุมสื่อดิจิตอล (Digital Media Controller) สามารถที่จะใช้เป็นอุปกรณ์ตัวเลือกที่ทำการหาคอนเทนท์ในเซิร์ฟเวอร์ของสื่อ ดิจิตอล และทำการเล่นในเครื่องเล่นสื่อดิจิตอลได้. ตัวอย่างบางอย่างของรายการเหล่านี้ได้แก่: แทปเล็ตอินเตอร์เน็ต, กล้องดิจิตอลที่เปิดใช้งาน Wi-Fi® ได้ และเครื่องดิจิตอลช่วยเหลือส่วนบุคคล(PDA). สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับ DLNA และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถจะดูได้จากที่ http://www.dlna.org.

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ipv4และipv6


 IPv6 คืออะไร

   » Answer :   กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์
เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร
   หมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The
Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง
ของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน
อนาคตได้เป็นอย่างดี

IPV4 คือ

ไอพี เวอร์ชั่น 4 ระบบไอพีที่ใช้ในปัจจุบัน คือ IPV4 ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิต หรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 (ตัวเลขบางตัวเป็นไอพีสงวนไว้สำหรับหน้าที่เฉพาะเช่น 127.0.0.0 จะเป็นการระบุถึงตัวอุปกรณ์เองไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะมีไอพีสื่อสารจริงๆ เป็นเท่าไร) อย่างไรก็ตามจากตัวเลขระบบที่จำกัดนี้สามารถเพิ่มขยายด้วยเทคนิคของไอพีส่วนตัว กับการแปลงไอพี NAT 684